top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนVORTEX THAILAND

การอ่านตาราง Load Capacity ของ สแต๊กเกอร์ (Stacker)



การทราบค่าการยกสูงของสแต๊กเกอร์เป็นสิ่งสำคัญมากในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมก่อนตัดสินใจซื้อสแต๊กเกอร์ไปใช้งานสักตัว โดยค่าความสัมพันธ์ของน้ำหนักและความสูงในแต่ละระดับสามารถดูได้ที่ตาราง Load Capacity ซึ่งตารางนี้หมายถึงน้ำหนักสูงสุดที่สแต๊กเกอร์สามารถรับได้ โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อตัวรถหรือคนทำงานเองก็ตาม ดังนั้น การเข้าใจตาราง Load Capacity จึงมีความสำคัญอย่างมากในการป้องกันอุบัติเหตุและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการเทียบตาราง Load Capacity ของ สแต๊กเกอร์ ได้ดียิ่งขึ้น


1. Load Capacity คืออะไร?

Load Capacity หรือ ความสามารถในการรับน้ำหนักของ สแต๊กเกอร์ เป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณน้ำหนักที่ สแต๊กเกอร์ สามารถยกได้อย่างปลอดภัยในระยะความสูงที่กำหนด โดยปกติแล้วในตาราง Load Capacity จะมีหน่วยเป็นน้ำหนักเป็นกิโลกรัม (kg) และความสูงเป็นมิลลิเมตร (mm) แต่จะแตกต่างกันไปตามรุ่นของตัวรถ


2. ปัจจัยที่มีผลต่อ Load Capacity

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการรับน้ำหนัก ดังนี้:

⦁ ความสูงของการยก (Lift Height): ยิ่งยกสูงขึ้น ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลง เนื่องจากการทรงตัวของ Stacker และความปลอดภัยจะลดลง

⦁ จุดศูนย์กลางน้ำหนัก (Load Center) : คือระยะห่างจากแผงงาของสแตกเกอร์ถึงจุดศูนย์กลางของน้ำหนักบรรทุกสินค้า ยิ่งจุดศูนย์กลางน้ำหนักอยู่ไกลจากตัวเครื่อง ความสามารถในการยกจะยิ่งลดลง ส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยในการทำงานและการทรงตัวของสแตกเกอร์ น้ำหนักยกสูงสุดจะลดลงเมื่อจุดศูนย์กลางน้ำหนักอยู่ไกลออกไป ตัวอย่าง เช่น : สแตกเกอร์ขนาด 1 ตัน ที่จุดศูนย์กลาง 500 มม. ดังนั้น

⦁ ที่ 600 มม. อาจยกได้เพียง 800 กก.

⦁ ที่ 700 มม. อาจยกได้เพียง 600 กก.

⦁ รุ่นและประเภทของ Stacker: แต่ละรุ่นของ Stacker จะมี Load Capacity ที่แตกต่างกันตามความแข็งแรงและการออกแบบของเครื่อง



3. วิธีการอ่านตาราง Load Capacity

ตาราง Load Capacity โดยทั่วไปจะประกอบด้วยแถวและคอลัมน์ที่แสดงค่าโหลดสูงสุดในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ระดับความสูงและตำแหน่งของสินค้าที่จะยก ตัวอย่างการอ่านตาราง Load Capacity มีดังนี้:

⦁ กราฟแนวนอนจะแสดงความสูงของการยก เช่น 2.5 เมตร, 3 เมตร, หรือ 3.5 เมตร

⦁ กราฟแนวตั้งจะแสดงแต่ละช่วงน้ำหนักที่สามารถยกได้ที่ความสูงนั้น ๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อยกสูงขึ้น น้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้จะลดลงตามไปด้วย


4. การใช้งานตาราง Load Capacity ให้ปลอดภัย

เพื่อให้การใช้งาน สแต๊กเกอร์ เป็นไปอย่างปลอดภัย คุณต้องตรวจสอบตาราง Load Capacity เสมอก่อนที่จะยกของหนัก นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้งานเกินความสามารถที่ระบุไว้ในตาราง และต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่อง สแต๊กเกอร์ อย่างสม่ำเสมอ



5. การเลือก Stacker ตาม Load Capacity

การเลือก Stacker ควรคำนึงถึงความต้องการในการยกของคุณ เช่น น้ำหนักของสินค้าที่ต้องยก ระยะความสูงที่ต้องการ รวมถึงระยะศูนย์ถ่วง (Load center) ของสินค้าด้วย หากคุณมีการใช้งานที่หลากหลาย อาจต้องเลือก สแต๊กเกอร์ ที่สามารถปรับการใช้งานได้หลากหลายแบบหรือสามารถรับน้ำหนักได้ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page